CALL CENTER

+66 0(9) 2192 7555

ผู้เชี่ยวชาญ

 

ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทดร.กำพลเป็นนักเภสัชวิทยาที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและ ในปัจจุบันเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สเต็มเซลล์ในประเทศไทย ดร.กำพลเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในด้านการแพทย์ของประเทศไทยเคยเป็นที่ปรึกษาขององค์กรอาหารและยาและ เป็นสมาชิกของอนุกรรมการหลายชุดซึ่งแต่งตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเป็นนักวิชาการสมทบของศูนย์การพัฒนายาที่มหาวิทยาลัยทับธ์เมืองบอสตัน ดร.กำพลได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ใน พ.ศ.2515 ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตใน พ.ศ.2517และปริญญาเอกในสาขาเภสัชวิทยา ใน พ.ศ.2521 จากมหาวิทยาลัยมหิดล เคยดำรงตำแหน่งนักวิจัยทางการแพทย์และมีตำแหน่งทางวิชาการ ในมหาวิทยาลัยโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยาและผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตศึกษาสาขาพิษวิทยาจนถึง พ.ศ.2531หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองคณบดีคณะบัณฑิตวิทยาลัย (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538)

นอกจากนี้ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และวิจัย (2532 – 2533) และ รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ (2533 - 2534) ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านวิชาการ ดร.กำพลได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนายา โดยมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการมากมายและเคยทำการวิจัยในมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา หลายแห่ง เคยได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลให้ไปฝึกอบรมในสาขาเภสัชวิทยาที่มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (พ.ศ.2521 – พ.ศ. 2522) และเป็นนักวิจัยสาขาเภสัชวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2531) และได้รับทุนวิจัยทางด้านมะเร็งที่โรงพยาบาล โรยัลมาร์สเดนท์ที่ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2531 –พ.ศ. 2532) ได้รับทุนจากสถาบันนานาชาติเมิร์กให้ไปฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเภสัชวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2525) ดร.กำพลเป็นสมาชิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมเภสัชวิทยาและพิษวิทยาแห่งประเทศไทย ความเชี่ยวชาญพิเศษจะรวมถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอ้วนและภาวะอ้วนลงพุงศาสตร์การแพทย์บูรณาการและการบำบัดรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในปัจจุบันได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยสเต็มเซลล์ที่ได้จากไขกระดูก เม็ดเลือด เลือดสายสะดือ เนื้อเยื่อไขมัน และฟันน้ำนม มีความร่วมมือทางวิชาการอย่างกว้างขวางกับสถาบันชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมันสวิสเซอร์แลนด์ ยูเครน รัสเซีย เกาหลี และจีนโดยมุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชียมีเทคโนโลยีสเต็มเซลล์เป็นเทคโนโลยีหลัก